30 คำถามอย่างง่าย เครียดเรื้อรังไหม

Category: Nutrition | August 27, 2019
โดย เอื้อมพร แสงสุวรรณ NTP (Nutrition Therapy Practitioner)

 
  • คนสมัยปัจจุบันเป็นโรคเครียดกันมาก แต่ไม่เชื่อว่า ความเครียดจากเรื่องต่างๆ ในชีวิต โดยเฉพาะหน้าที่การงาน จะกลายเป็นความ เครียดเรื้อรัง ซึ่งต้องหาวิธีแก้ไข และรักษาอย่างเข้าใจ
     

     ถ้าจะว่าไป น้อยคนจะเข้าใจว่า ความเครียดนั้นไม่ได้เกิดจากเรื่องต่างๆ ในชีวิตเท่านั้น แต่เกิดจากอาหารที่กิน เช่น อาหารที่เป็นแป้งขัดขาวหรือทำจากแป้งขัดขาว อาหารที่มีส่วนผสมของน้ำตาล น้ำหวาน อาหารแปรรูป อาหารที่มีส่วนผสมของสารเคมี ที่จะกลายเป็นภาระของร่างกาย ขณะย่อยอาหาร สุดท้ายก็กลายเป็นท็อกซิน ที่ก่อความเครียดต่อร่างกาย และอวัยวะต่างๆ
     อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ทุกคนเข้าใจความเครียดของตนเองมากขึ้น วันนี้เราจึงจะชวนคุณผู้อ่านมาเช็คอาการของตนเอง ที่คิดว่าเป็นออฟฟิศซินโดรม เป็นโรคน้ำตาลตก
เป็นโรคอ่อนเพลียไม่มีแรง แท้จริงแล้ว อาจคือโรค เครียดเรื้อรัง
     เอื้อมพรรวบรวมขึ้นมาจากตำราเรียนของ Nutritional Therapy Practitioner และหนังสือ Adrenal Fatigue, The 21st Century Stress Syndrome ของดร.นายแพทย์ เจมส์ แอล. วิลสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านธรรมชาติบำบัด ที่กลายมาเป็นคำถามอย่างง่าย สำหรับคนวัยทำงานในปัจจุบันว่า คุณเป็นโรค เครียดเรื้อรังไหม
 

คะแนน 0-3

อาการ

 

เคยเจอเรื่องเครียดจนกระทบกับชีวิต

 

ใช้ชีวิตด้วยความอ่อนล้า

 

ทำงานล่วงเวลามานาน

 

ใช้ยาสเตียรอยด์มานาน

 

น้ำหนักเพิ่ม โดยอ้วนบริเวณรอบพุง

 

ดื่มเหล้า หรือใช้ยามานาน

 

อ่อนไหวกับมลภาวะในสิ่งแวดล้อม

 

เคยป่วยเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆ รวมทั้งเบาหวาน อะนอเร็คเซีย

คะแนน 0-3

อาการ

 

จัดการความเครียดได้น้อยลง

 

ประสิทธิภาพการทำงานลดลง

 

หลงลืมบ่อย ๆ

 

เวลาอยู่ในสถานการณ์ตึงเครียดจะมีอาการสั่น ตระหนก

 

มักกลัว กังวล โดยใช่เหตุ

 

มีอารมณ์เพศลดลง

 

หน้ามืด ถ้าต้องลุกยืนเร็ว ๆ

 

เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย แบบที่นอนหลับก็ไม่ช่วย

 

รู้สึกไม่ค่อยสบายตลอดเวลา

 

ถ้ามีเรื่องกดดัน จะต้องนอนแผ่ จึงจะรู้สึกดีขึ้น

 

กล้ามเนื้ออ่อนแรง

 

ถ้าออกกำลังกาย ก็จะรู้สึกเหนื่อย จนมาสามารถกลับไปออกกำลังกายได้อีก

 

เริ่มมีปัญหาเรื่องภูมิแพ้ หรือโรคภูมิแพ้กำเริบ

 

เริ่มมีขี้แมลงวันขึ้นตามใบหน้า คอ และไหล่

 

ทนอากาศเย็นไม่ได้

 

ความดันโลหิตต่ำ

 

เวลาเครียดมักหิว มือสั่น ปวดหัว

 

น้ำหนักลง ช่วงเครียดจัด

 

รู้สึกหมดหวัง ท้อแท้กับชีวิต

 

ความอดทนลดลง หงุดหงิดง่าย

 

ต่อมน้ำเหลืองโตบ่อย ๆ

 

วิงเวียน อาเจียนบางครั้ง

คะแนน 0-3

 

 

มักต้องบังคับตัวเองให้ทำสิ่งต่าง ๆ

 

ชอบตื่นสาย และรู้สึกว่าตื่นแล้ว หลังเที่ยงเป็นต้นไป

 

หมดแรงง่าย

 

นอนก่อน 5 ทุ่มไม่ได้


     คะแนนที่ได้จากการทำแบบสอบถามนี้ แม้คะแนนรวมจะไม่มากนัก แต่เราจำเป็นต้องตอบตัวเองให้ได้ว่า  เราทุกข์ทรมานกับอาหารเหล่านี้ (ที่คือความ เครียดเรื้อรัง) มากแค่ไหน และเราต้องการรักษาอาการจากความ เครียดเรื้อรัง นี้ไหม
     เนื่องจาก หากคุณไปหาหมอในคลินิกหรือโรงพยาบาลทั่วไป หมออาจไม่ประเมินว่า คุณต้องได้รับการเยียวยาทั้งองค์รวม แต่จะให้ยารักษาเป็นอาการ ๆ ไป เช่น ถ้าปวดหัวก็จะจ่ายยาแก้ปวด ถ้านอนไม่หลับก็จ่ายยานอนหลับ ถ้าอ่อนเพลียร่วมกับความดันโลหิตต่ำ หมอบางคนก็จะแนะนำให้ไปดื่มน้ำหวาน
     ร้ายที่สุดคือ การที่หมอจัดยาคลายเครียดให้คุณ หรือไม่ก็ส่งตัวไปยังแผนกจิตเวช ทั้งที่ความจริงแล้ว คุณเป็นแค่โรค เครียดเรื้อรังว่าแต่จะรักษาอย่างไร บทความใน SUKINA ตอนต่อไป จะค่อย ๆ ช่วยสร้างความเข้าใจปัญหาของโรค เครียดเรื้อรัง ที่คุณเป็นอยู่ และช่วยหาวิธีแก้ไขไปทีละขั้นตอน

ข้อมูลอ้างอิง
หนังสือ Adrenal Fatigue, The 21st Century Stress Syndrome ของดร.นายแพทย์ เจมส์ แอล. วิลสัน ผู้เชี่ยวชาญด้านธรรมชาติบำบัด

เรียบเรียงโดย วินนา รักการ
ขอบคุณภาพจาก unsplash
share