About us
Company Profile
Vision & Mission
Our Philosophy
History
Leadership
Group Company
Awards
Portfolio
TV Program
Content Management
Licensing
Brand Communications
Event Organizer
Sukina
Ali
Star from JSL
News
Company News
Interviews
Picture Gallery
Career
Contact us
EN
Menu
Home
/
Portfolio : Sukina
สติในการเท่าทันความรู้สึกตัวเอง (ความไม่กลัว)
Category:
Mental Health
| December 23, 2019
โดย พศิน อินทรวงค์ นักเขียนและนักบรรยาย เรื่องแรงบันดาลใจ ตามหลักพุทธศาสนา
เราควรดูแลสุขภาพด้วยความเข้าใจและดีที่สุดเท่าที่ทำจะได้ แต่ถึงกระนั้นเราควรเปิดพื้นที่ว่างทางความคิดไว้ด้วยว่า โรคภัยไข้เจ็บนั้นเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เช่น เราดูแลร่างกายตัวเองดีทุกอย่างแล้ว ไม่ได้หมายความว่าเราจะป่วยเป็นโรคมะเร็งไม่ได้ เพราะชีวิตมันเป็นเรื่องไร้รูปแบบ
ธรรมชาติของมนุษย์ เมื่อเรารักและหวงแหนอะไร เราจะดูแลสิ่งนั้นเป็นอย่างดี จึงส่งผลให้จิตใจเกิดการยึดติดและเมื่อสิ่งนั้นเสื่อม เราก็จะมีความทุกข์มากกว่าปกติ
ดังนั้นคนที่ดูแลสุขภาพตัวเองอย่างดี เมื่อเกิดโรคภัยไข้เจ็บขึ้นมา อย่าตั้งคำถามกับตัวเองว่า ตัวเองผิดตรงไหน เราไม่ควรปฏิเสธความจริงว่า ชีวิตเป็นสิ่งไม่แน่นอน
เหมือนการทำงานของเรา เราทำได้แค่ทำดีที่สุด แต่ไม่มีอะไรมาการันตีได้ว่า งานจะประสบความสำเร็จหรือว่าล้มเหลว
ในโลกนี้มีทั้งคนที่ดูแลสุขภาพแล้วอายุยืน และคนที่ดูแลสุขภาพแต่ป่วยเป็นโรคแล้วอายุสั้น รวมถึงคนที่ไม่ดูแลสุขภาพแต่มีอายุยืน และคนที่ไม่ดูแลสุขภาพเลยแต่มีชีวิตอยู่ได้ไม่นานก็มี เราไม่ควรยึดติดว่า เราต้องมีร่างกายแข็งแรงตลอด เนื่องจากทำให้เกิดทุกข์ การดูแลสุขภาพเป็นสิ่งที่ดี แต่ควรอยู่บนพื้นฐานความจริงว่า สิ่งใดล้วนเกิดขึ้นได้ แต่เราควรมีความพร้อมรับกับทุกอย่างที่เกิดขึ้น
การดูแลสุขภาพไม่ควรละเลยและประมาท ข้อธรรมที่ว่า เราควรไม่อยู่ในความประมาท และสิ่งสำคัญคือ
การไม่ยึดติด
นั่นคือการระวังใจตน ไม่ปล่อยให้ใจหลงใหลลงไปกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ผู้หญิงอายุ 40 ก่อนหน้านี้เธอเป็นคนสวย ดูแลบำรุงผิวพรรณอย่างดีมาตลอด มีคนชื่นชมความสวยงามนั้นตลอดเวลา จึงทำให้ยึดติดกับความสวยความงามเหล่านั้นและในที่สุด จะเกิดเป็นความทุกข์ขึ้น
ความไม่ประมาท
เราต้องมีการเรียนรู้ในความไม่ประมาท เราไม่ยึดติด และไม่ควรประมาท ในเรื่องของสุขภาพกาย โดยต้องเข้าใจว่า ธรรมชาติของใจจะไม่มีเหตุผล เพราะเป็นความรู้สึกในภาคของอารมณ์ความรู้สึก ดังนั้น แม้เราดูแลสุขภาพหรือความงามอยู่แล้วก็ไม่ควรยึดติด ซึ่งเป็นเรื่องยากมากกับการที่คนเราตั้งใจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วจะไม่ยึดติด เนื่องจากฐานการขับเคลื่อนของมนุษย์ปุถุชนเต็มไปด้วยความคาดหวัง สุดท้ายเราจะไปยึดติดสิ่งนั้นๆ ไว้ เช่น เรื่องลูก จึงไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจว่าเหตุใดพ่อแม่ทุกคนถึงยึดติดกับลูกมาก ในเมื่อเรารักผูกพันมากเท่าไร ใจของคนเราก็จะถลำเข้าหามันเท่านั้น
ในทางการดูแลสุขภาพแล้ว แค่การรู้อย่างเดียวไม่พอ เมื่อเรากินสิ่งใดเข้าไป เราควรบอกตัวเองเสมอว่าไม่มีอะไรแน่นอน ทุกครั้งที่มองตัวเองว่า ตอนนี้เรามีสุขภาพดี แต่ให้เรามองตัวเองอีกมุมหนึ่งเสมอว่า มันไม่มีอะไรแน่นอนเช่นกัน ดังนั้นเราไม่ควรยึดติดกับสิ่งเหล่านี้จนทำให้เกิดความทุกข์ในการใช้ชีวิตเกินไป
ว่าด้วยเรื่อง “ความตาย” ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าถามพระอานนท์ว่า คิดถึงความตายวันละกี่ครั้ง พระอานนท์ตอบว่า เจ็ดครั้ง พระพุทธเจ้าบอกว่า น้อยเกินไป หมายความว่า เราไม่ได้รู้จริงๆ ว่า เราต้องตาย เราต้องรู้แบบซ้ำๆ
ทำอย่างไรเราจะรู้ว่า โรคภัยไข้เจ็บเข้ามาได้ตลอดเวลา บนพื้นฐานของการดูแลสุขภาพ คำตอบคือมีสองแบบ หนึ่งคือ การดูแลมากเกินไปและยึดติด สองคือ ละเลย ไม่ดูแลและไม่ยึดติด
เราจึงไม่เห็นคนที่ดูแลสุขภาพรู้สึกรับได้กับการเกิดโรคภัยไข้เจ็บ เพราะคนส่วนใหญ่ทำแค่สองอย่างที่กล่าวข้างต้น
เรียบเรียงโดย วินนา รักการ
ขอบคุณภาพจาก unsplash
share
Home
About us
Company Profile
Vision & Mission
Our Philosophy
History
Leadership
Group Company
Awards
Portfolio
TV Program
Content Management
Licensing
Brand Communications
Event Organizer
Sukina
Ali
Star from JSL
News
Company News
Interviews
Picture Gallery
Career
Contact us